

วันที่อบรม
16 กันยายน 2568
เวลา 9:00-16:00 น.
โรงแรมในเขตกรุงเทพ

ระยะเวลาอบรม : 1 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- ฝึกปฏิบัติ

ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT)
4,900 บาท
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
International Telecommunication Union (ITU) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะทางขององค์การสหประชาชาติ ที่มุ่งเน้น ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) การประเมินและจัดอันดับความพร้อมด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยใช้ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ดัชนี GCI จะพิจารณาใน 5 มิติหลักของความมั่นคงทางไซเบอร์ ได้แก่:
- Legal Measures (มาตรการทางกฎหมาย) การมีและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงไซเบอร์
- Technical Measures (มาตรการทางเทคนิค) ความพร้อมด้านเทคโนโลยี และการป้องกันภัย ทางไซเบอร์
- Organizational Measures (มาตรการทางการจัดการ) การวางแผนและการบริหารจัดการองค์กรในด้านไซเบอร์
- Capacity Building (การเสริมสร้างศักยภาพ) การพัฒนาทักษะและความรู้ให้กับบุคลากร
- Cooperation (ความร่วมมือ) การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและหน่วยงานต่างๆ ในการรับมือกับภัยคุกคาม ทางไซเบอร์
Outcome :
- เพิ่มความตระหนักรู้: ช่วยให้พนักงานทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ระมัดระวังหรือพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลย
- ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์: พนักงานคือเป้าหมายหลักของการโจมตีทางไซเบอร์ เช่น การฟิชชิง การแฮ็ก หรือมัลแวร์ การอบรมจะช่วยให้พนักงานรู้จักวิธีระบุและป้องกันตนเองจากภัยเหล่านี้
- ปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐาน: การฝึกอบรม Security Awareness เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามกฎหมาย และมาตรฐาน เช่น PDPA ที่กำหนดให้หน่วยงานต้องมีมาตรการปกป้องข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงการให้ความรู้ แก่พนักงาน
- ลดความเสี่ยงในการทำผิดพลาด: การรู้เท่าทันและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องช่วยลดโอกาสที่พนักงานจะทำให้เกิดข้อมูลรั่วไหล หรือระบบถูกโจมตีโดยไม่ได้ตั้งใจ
- ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย: เมื่อพนักงานทุกคนมีความเข้าใจและรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล จะช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีความปลอดภัยและระมัดระวังมากขึ้น
Objective :
- เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ให้แก่บุคลากรในองค์กร พร้อมทั้งพัฒนาทักษะในการระบุและป้องกันตนเองจากการโจมตีทางไซเบอร์
- เพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะ PDPA และแนวปฏิบัติที่ดีในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล พร้อมทั้งพัฒนาทักษะในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
- เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรผ่านการปลูกฝังความตระหนักและความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อให้เกิดการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างยั่งยืน และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยในยุคดิจิทัล
กลุ่มเป้าหมาย :
- กลุ่มผู้บริหารและผู้นำองค์กรที่ดูแลข้อมูลสำคัญขององค์กร
- กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ที่ดูแลความปลอดภัยระบบ
- ผู้ประสานงานและสื่อสารองค์กร
- บุคลากรที่ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน และสามารถเข้าถึงระบบขององค์กรจากภายนอก ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้อง
วิทยากร : อ.ทรงกลด ตันทรบันฑิตย์
ผู้สอนหลักสูตรและการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ผ่านหลักเกณฑ์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด
ระยะเวลา : 1 วัน (เวลา 9.00-16.00 น.)
Course Outline :
- ภัย Cyber ภัยใกล้ตัว
- สรุปกฎหมายเกี่ยวกับ Secuirty ในประเทศไทย
- รู้จักมาตราการ Security แบบต่างๆ
- การปกป้องข้อมูลและการรักษาความลับสำหรับพนักงาน
- การตรวจจับและป้องกันการโจมตีสำหรับพนักงาน
- การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย
- ภาคปฏิบัติการทำ PDPA สู่ Security สำหรับพนักงานทุกคนมีส่วนร่วม
- ภาคปฏิบัติ Security โดยเครื่องมือ AI ช่วย
ค่าธรรมเนียม | ราคาปกติ | Promotion
สมัคร 3 ท่านเป็นต้นไป รับส่วนลดท่านละ 15% |
ท่านละ (ก่อน VAT 7%) | 4,900 บาท | |
ท่านละ (รวม VAT 7%) | 5,243 บาท | |
ค่าธรรมเนียมประกอบด้วย
วิทยากร สถานที่ และอาหาร 2 Break 1 Lunch เอกสารการอบรม |
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 452-456
E-mail : training@ftpi.or.th