

วันที่อบรม
3 - 4 เมษายน 2567
เวลา 9:00-16:00 น.
โรงแรม อมารี วอเตอร์เกท

ระยะเวลาอบรม : 2 วัน
วิธีการฝึกอบรม
• การบรรยาย พร้อมตัวอย่างกรณีศึกษา
• ฝึกปฏิบ้ติผ่าน Workshop
• เกมและกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
• แลกเปลี่ยนมุมมอง และเทคนิคการคิดระหว่างกัน

ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT)
11,000 บาท
สมาชิกสถาบัน รหัส TP และ FI ลด 3%
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- This event has passed.
“กระบวนการคิดรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ในการสร้างและประเมินข้อสรุปจากหลักฐานหรือสภาวการณ์ใดๆ ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นทักษะแห่งศตวรรษ ที่ 21 หรือทักษะแห่งโลกยุคใหม่”
Critical Thinking การคิดเชิงวิพากษ์หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับอย่างไตร่ตรองด้วยเหตุและผล มีกระบวนการคิดโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดหลักเหตุผล เพื่อการพิจารณาและประเมินข้อสรุปจากหลักฐานหรือสภาวการณ์ใดๆ ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง จนได้คำตอบที่เหมาะสมหรือดีที่สุด
เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ หรือประเมิน หรือแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดีที่สุด
นักคิดเชิง Critical จะมีกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล ตรวจสอบหลักฐานที่ได้รับ การไต่ตรองด้วยเหตุและผล แล้วจึงทำการตัดสินสถานการณ์นั้นๆ ว่าเป็นความจริงหรือไม่ จากกระบวนการคิด
ที่รอบคอบอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ หรือปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมาก จึงเป็นทักษะที่สำคัญในด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด
คุณลักษณะของ Critical Thinker จะมีความสามารถต่างๆ ดังนี้
- การมองภาพกว้าง / ภาพใหญ่ เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างความคิด การเป็นระเบียบ การร้อยเรียงของข้อมูลต่างๆ
- กำหนดความสำคัญ และเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างความคิดหรือแนวคิดต่างๆ ได้
- กล้าตั้งข้อสังเกต คำถาม รับรู้ สร้าง และประเมินข้อโต้แย้งต่างๆ นำไปสู่การพยายามหาคำตอบ
หรือพิสูจน์สมมติฐานนั้นๆ - การใช้ข้อเท็จจริง หรือใช้เหตุผลในการคิด ไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถแยกข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นออกจากกัน
- จัดระบบข้อมูล แยกแยะประเภทของข้อมูล กำหนดความสำคัญของแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง
มีวิจารณญาณ วิเคราะห์ในเชิงลึก และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้
วัตถุประสงค์
- มีความรู้ เข้าใจ และฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์หรือคิดอย่างมีเหตุผล (Critical Thinking)
- มีทักษะการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง
- สามารถฟังและตีความหมายของข่าวสาร แยกแยะและประเมินข้อมูลได้
- สามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนางานในชีวิตประจำวันได้
วิทยากร
คุณชวรณ ธีระกุลชัย
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนาทักษะการคิด และ Business Transformation Coach
เหมาะสำหรับ
- Officer
- Supervisor
- Manager
ค่าธรรมเนียม
ท่านละ (ก่อน VAT 7%) | 11,000 บาท / ท่าน |
สมาชิกสถาบัน รหัส TP และ FI ลด 3%
- สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหัก ณ ที่จ่าย 3%
- ค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานฝึกอบรม สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ตาม พรบ. ส่งเสริมการพัฒนา
วิธีการฝึกอบรม
- การบรรยาย พร้อมตัวอย่างกรณีศึกษา
- ฝึกปฏิบ้ติผ่าน Workshop
- เกมและกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
- แลกเปลี่ยนมุมมอง และเทคนิคการคิดระหว่างกัน
ระยะเวลา 2 วัน
3 – 4 เมษายน 2567
เวลา 9.00 – 16.00 น.
หัวข้อการฝึกอบรม
Day 1 เข้าใจหลักคิดเชิงวิพากษ์และฝึกทักษะการคิด
- เข้าใจวิธีการใช้ทักษะการคิดผ่านหลักการสมองสองระบบ (Sytem1/ System2)
- รู้จักลำดับการฝึกฝนทักษะการคิด 6 ระดับ และเข้าใจความแตกต่างระหว่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) กับทักษะการคิดแบบอื่นๆ เช่น การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking), การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking), การคิดเชิงระบบ (System Thinking), การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นต้น
- Model และกระบวนการในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking Model & Process)
- เข้าใจการเริ่มต้นคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ถูกต้อง
Day 2 พัฒนาระบบความคิด การประยุกต์ใช้กับการทํางาน / ชีวิตประจําวัน
- ทักษะการตั้งคําถามเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง และความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ
- การรับฟังและตีความหมายของข่าวสาร เพื่อสามารถแยกแยะและประเมินข้อมูลได้
- เข้าใจหลักการวิเคราะห์ (Analysis) สำหรับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- การเผชิญกับสถานการณ์และการหาทางออกแบบ Win-Win
- การนํามาประยุกต์ใช้เพื่อจัดการวิกฤตในการทํางาน และในชีวิตประจําวัน
*กำหนดการและหัวข้อสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
การออกใบรับรองการอบรม (Certificate)
ผู้ฝึกอบรมจะได้รับใบรับรองผ่านการฝึกอบรม โดยจะต้องเข้าฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาฝึกอบรมตลอดหลักสูตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 458 (นันทนา)
E-mail: nuntana@ftpi.or.th