วันที่อบรม
11 พฤศจิกายน 2568
เวลา 9:00-16:00 น.
โรงแรมในเขตกรุงเทพ
ระยะเวลาอบรม : 1 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- ฝึกปฏิบัติ
ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT)
4,900 บาท
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
Pain Point:
- สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในระดับโลกมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ จากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ และความเป็นโลกาภิวัตน์ สิ่งนี้ทำให้บุคคลและองค์กรพบกับความยากลำบากในการระบุกลยุทธ์ที่เหมาะสมและหาโอกาสที่มีอยู่
แนวทางแก้ไข: การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้มีโครงสร้างในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลและแนวโน้มต่างๆ ช่วยให้ผู้นำและผู้ตัดสินใจสามารถแยกแยะและมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
- องค์กรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาล เพราะไม่สามารถสกัดข้อมูลสำคัญที่มีประโยชน์ ซึ่งนำไปสู่การสร้างโอกาสในการดำเนินงาน และความได้เปรียบในการแข่งขัน
แนวทางแก้ไข: การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้บุคคลและองค์กรสามารถย่อยข้อมูลขนาดใหญ่เป็นข้อสรุปที่ปฏิบัติได้จริง ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิผล
- องค์กรไม่สามารถระบุจุดอ่อนที่จำเป็นต้องปรับตัว ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงไม่สามารถพัฒนา และนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็ง และความสามารถในการดำเนินงาน
แนวทางแก้ไข: การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้องค์กรสามารถมองเห็นจุดอ่อน ที่ต้องเร่งดำเนินการปรับปรุง หรือ พัฒนา และมองหานวัตกรรมที่เหมาะสม ให้สามารถส่งเสริม และขยายโอกาส ท่ามกลางแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของหลากหลายปัจจัยที่จะเกิดขึ้น
Outcome:
- เครื่องมือช่วยสร้างภาพการเติบโตขององค์กรที่ชัดเจน จากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- แนวทางการสร้างตัวบ่งชี้ หรือสัญญาณการปรับตัวบนข้อมูลสำคัญขององค์กร เพื่อการดำเนินงานเชิงรุก และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
- เครื่องมือช่วยให้การตัดสินใจเลือกแนวทางที่สร้างผลลัพธ์ที่คาดหวัง และลดผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้น
- เครื่องมือช่วยระบุขอบเขตปัญหา สาเหตุ จุดอ่อน จุดแข็ง อย่างชัดเจน เพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงอย่างตรงประเด็น และยั่งยืน
Rationale :
สูตรนี้เน้นให้เห็นถึงพลังของการคิดวิเคราะห์ในการค้นหาปัจจัยที่ยังไม่ถูกเปิดเผยหรือคุณลักษณะเฉพาะที่สามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้ พร้อมกับกระตุ้นความสามารถในการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
เหตุผล: การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้ผู้บริหารและทีม ทำงานเชิงรุกอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ด้วยการวิเคราะห์แนวโน้มและผลกระทบในระยะยาวของปัจจัยทั้งภายนอกและภายในที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน โดยออกแบบแนวทางปรับตัวและวางแผนเตรียมพร้อมป้องกัน และรับมือปัญหาในอนาคต รวมถึงส่งเสริมและขยายโอกาส ให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
เหตุผล: การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้ผู้บริหารและทีม เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจมีความถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น จึงลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ
เหตุผล: การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้ผู้บริหารและทีม สามารถสื่อสารได้อย่างตรงประเด็น ชัดเจน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ในการนำเสนอแนวทางกำดำเนินงานที่หลากหลาย เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
Objective :
- เพื่อเสริมสร้างทักษะและวิธีการที่จำเป็นในการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจุบัน และ แนวโน้มในอนาคต ทำให้ผู้เรียนสามารถแยกแยะข้อมูลที่ซับซ้อนและค้นพบโอกาสที่ซ่อนอยู่ในตลาดหรือองค์กรได้อย่างชัดเจน
- เพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจของผู้เรียนผ่านการเรียนรู้แนวทางใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พิจารณาทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงสุดและ ลดความเสี่ยง ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตขององค์กรในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์แนวทางการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น และรูปแบบใหม่ๆ จากแนวทางการวิเคราะห์ให้ค้นพบจุดเด่น หรือลักษณะพิเศษที่เป็นความได้เปรียบขององค์กร
วิทยากร : ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี
วิทยากร ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม มุ่งเน้นการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการบูรณาการ และเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบจากกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ ยกระดับผลิตภาพองค์กรเพื่อความสามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจ
ระยะเวลา : 1 วันเวลา 9:00 – 16:00 น.
รุ่น 3 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2568
Course Outline:
- Part I กิจกรรมส่งเสริม Analytical Mindset และ พฤติกรรมสนับสนุนการคิดวิเคราะห์
สรุปการเรียนรู้ร่วมกัน เกี่ยวกับ FACT Mindset (Fact, Assumption, Clarity, Test) ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้พฤติกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ Curiosity Observation Questioning
- Part II กิจกรรมทำความเข้าใจรูปแบบและกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ
สรุปการเรียนรู้ร่วมกัน เรื่องความหมายและขอบเขตของการคิดวิเคราะห์ และรูปแบบการคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้เครื่องมือส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เช่น Turn around question, Mind Map, Analogy Technique
- Part III กิจกรรมทำความเข้าใจรูปแบบและกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ
สรุปการเรียนรู้ร่วมกัน กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
- ขั้นตอนที่ 1 การระบุขอบเขตเรื่องที่ต้องการวิเคราะห์อย่างเฉพาะเจาะจง
- ขั้นตอนที่ 2 การเก็บข้อมูล เรียนรู้เทคนิคการตั้งคำถามและการฟัง การวางแผนเก็บข้อมูล
- ขั้นตอนที่ 3 การแยกแยะ และจัดกลุ่ม เรียนรู้หลักการแยกแยะและจัดจัดกลุ่มข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผ่านเครื่องมือ
- ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ และการระบุผลการวิเคราะห์
- ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบ และ ยืนยันผลการวิเคราะห์
- Part IV กิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการทำงาน เพื่อระบุขอบเขตปัญหาอย่างชัดเจน และระบุสาเหตุ
- เรียนรู้หลักการระบุความผิดปกติที่เกิดขึ้นในกระบวนการ และใช้เครื่องมือ แผนผังก้างปลา 5 Whys ความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลง
- การตัดสินใจพิจารณาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงที่เกิดประสิทธิผล
- Part V กิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลจุดเด่น และลักษณะพิเศษ ที่จะสร้างความโดดเด่นให้องค์กร
- เรียนรู้หลักการหา “Core competency” หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่ทำให้องค์กรโดดเด่น
- การออกแบบแนวทางการใช้ “Core competency” สร้างการเติบโต ให้องค์กร
- Part VI กิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการของลูกค้า และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เพื่อค้นหาโอกาส
- เรียนรู้การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการลูกค้า
- เรียนรู้วิธีการสร้างฉากทัศน์ เพื่อวิเคราะห์โอกาส และทิศทางการเติบโตขององค์กร
- Part VII กิจกรรมการวิเคราะห์ผู้ฟัง เพื่อสื่อสารผลการวิเคราะห์ให้ตรงความต้องการผู้ฟัง
- เรียนรู้การเทคนิคการวิเคราะห์ผู้ฟัง และการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวผู้ฟัง
ค่าธรรมเนียม | ราคาปกติ | Promotion
สมัคร 3 ท่านเป็นต้นไป รับส่วนลดท่านละ 15% |
ท่านละ (ก่อน VAT 7%) | 4,900 บาท | |
ท่านละ (รวม VAT 7%) | 5,243 บาท | |
ค่าธรรมเนียมประกอบด้วย
วิทยากร สถานที่ และอาหาร 2 Break 1 Lunch เอกสารการอบรม |
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 456 (เอราวรรณ), 452 (ศิริชัย), 453 (ผ่องอำไพ)
E-mail : training@ftpi.or.th