วันที่อบรม
6 - 7 สิงหาคม 2568
เวลา 9:00-16:00 น.
โรงแรมในเขตกรุงเทพ
ระยะเวลาอบรม : 2 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- ฝึกปฏิบัติ
ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT)
8,500 บาท
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
องค์กรกำลังเผชิญกับปัญหาเชิงระบบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่ง หรือหลายปัจจัย ส่งผลกระทบไปยังทุกปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน ทั้งโครงข่าย ซึ่งมีความซับซ้อนทั้งความสัมพันธ์ และการดำเนินงาน ในระบบ ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ และอุปกรณ์เครื่องใช้อัตโนมัติ ส่งผลให้สังคมเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คน นำไปสู่ความต้องการบริโภคทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น และการขยายปริมาณผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้สภาพแวดล้อมภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงไปจนยากจะคาดการณ์ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทุกพื้นที่ ส่งผลต่อเนื่องกลับมายังภาคธุรกิจ ที่ต้องปรับตัวทั้งเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แรงงาน ต้นทุน การจัดการด้านวัตถุดิบ รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม ดังนั้น องค์กรต้องทำความเข้าใจระบบ ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เพื่อลดความซับซ้อนของปัญหาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น และสามารถสร้างโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืนท่ามกลางความไม่แน่นอน
องค์กรจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องเรียนรู้การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน เพื่อให้สามารถสร้างโอกาสการเติบโตจากแรงกดดันที่มาจากการแข่งขัน และองค์กรผู้นำด้านการปฏิรูปโดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงานในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ยุค 4.0 ซึ่งมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จึงได้หยิบยกแนวคิดของหนึ่งทักษะสำคัญอย่าง Complex Problem Solving หรือการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน มาพัฒนาเป็นหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งอธิบายถึงแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาซับซ้อนในการดำเนินงาน สามารถค้นหาจุดสร้างความซับซ้อนในกระบวนการ และระบบธุรกิจ นำไปสู่การออกแบบแนวทางจัดการปัญหาซับซ้อน ให้เกิดคุณค่ากับธุรกิจ
Objective :
- เพื่อเสริมสร้างทักษะและวิธีการในการวิเคราะห์ปัญหาซับซ้อน และ การแก้ไขปัญหาเชิงระบบ ทำให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาได้ครอบคลุมทั้งระบบ และเกิดประสิทธิผลตามเป้าหมาย
- เพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน ในสถานการณ์ที่ซับซ้อน และสามารถวางแผนจัดการได้อย่างเหมาะสม และได้ประโยชน์สูงสุดตามที่ต้องการ
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์แนวทางการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น และแตกต่างจากเดิม ทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นระบบ จะไม่เกิดปัญหาซ้ำ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
วิทยากร : ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี
วิทยากร ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม มุ่งเน้นการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการบูรณาการ และเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบจากกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ ยกระดับผลิตภาพองค์กรเพื่อความสามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจ
ระยะเวลา : 2 วัน เวลา 9:00 – 16:00 น.
รุ่น 1: วันที่ 23-24 เมษายน 2568
รุ่น 2: วันที่ 6-7 สิงหาคม 2568
รุ่น 3: วันที่ 17-18 ธันวาคม 2568
Course Outline :
Day 1
- Part I กิจกรรมส่งเสริม Mindsets ที่ช่วยขับเคลื่อนการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
1.) เรียนรู้ Mindsets ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ได้แก่ ค้นหาความคิดหรือแนวทางที่ไม่คุ้นเคย และแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ (exploration) เข้าใจความต้องการของผู้ใช้หรือความกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (empathetic curiosity) และ การทดลองค้นหาวิธีการที่หลากหลาย ด้วยการตั้งสมมติฐาน และเรียนรู้จากความล้มเหลว (experimentation).
2.) เรียนรู้ การจัดการกับความผิดพลาดในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ได้แก่ การทำให้ปัญหาง่ายเกินไป การวิเคราะห์ที่เยอะเกินไป และการแก้ปัญหาที่เร็วเกินไป
3.) เรียนรู้การนำแนวคิด Play & Rigor เป็นเครื่องมือกำหนดแนวทางจัดการในสถานการที่ซับซ้อน และเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- Part II กิจกรรมการจัดการสถานการณ์ซับซ้อนเชิงระบบ
- เรียนรู้กระบวนการคิดที่มีคนเป็นศูนย์กลางของระบบ (Human-Centered Systems Thinking)
- การประเมินสถานการณ์ซับซ้อน
- Part III กิจกรรมการกำหนดขอบเขตปัญหาอย่างชัดเจน
เรียนรู้ 1.) นิยามปัญหา และ ความแตกต่างระหว่างการแก้ปัญหาปกติ และปัญหาที่ซับซ้อน
2.) การมองปัญหาซับซ้อนเชิงระบบ ด้วยแนวคิดภูเขาน้ำแข็ง และ การเขียนแผนภาพวงจร Casual Loop Diagram เพื่อระบุปัญหาเชิงระบบ
3.) การสร้าง systems map และการเก็บข้อมูลผู้เกี่ยวข้องในระบบ เพื่อทำความเข้าใจความต้องการ และความเชื่อ ในหลากหลายมุมมอง และระบุขอบเขตปัญหาซับซ้อน
Day 2
- Part IV กิจกรรมการออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาซับซ้อน
- เรียนรู้แนวทางแก้ปัญหาซับซ้อน ได้แก่ การแก้ไขตรงปัจจัยต้นเหตุ และการออกแบบระบบเพื่อหยุดการขยายตัวของปัญหา
- เรียนรู้การนำหลักการ Play กระบวนการคิดสร้างสรรค์ และการนำเสนอไอเดียแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- การออกแบบขั้นตอนทำงานทั้งระบบ เพื่อแก้ปัญหาซับซ้อน
- Part V กิจกรรมการทดสอบ และปรับปรุงแนวทางแก้ไขปัญหาซับซ้อน
- การพัฒนาต้นแบบ และทดสอบ
- การสร้างฉากทัศน์ในอนาคต เพื่อทดสอบไอเดีย
- เรียนรู้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดเชิงระบบ ด้วยแนวคิด Two System Thinking
- การนำเสนอการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน ด้วยเทคนิคการ การเล่าเรื่อง
- การสร้างบรรยากาศการคิดร่วมกัน co-creation sessions, mock pitches และหลักการท้าทายแนวคิดเดิม (boundary concepts.)
ค่าธรรมเนียม | ราคาปกติ |
Promotion สมัคร 3 ท่านเป็นต้นไป รับส่วนลดท่านละ 15% |
ท่านละ (ก่อน VAT 7%) | 8,500 บาท | |
ท่านละ (รวม VAT 7%) | 9,095 บาท | |
ค่าธรรมเนียมประกอบด้วย
วิทยากร สถานที่ และอาหาร 2 Break 1 Lunch เอกสารการอบรม |
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 456 (เอราวรรณ), 452 (ศิริชัย), 453 (ผ่องอำไพ)
E-mail : training@ftpi.or.th