Public Training
Complex Problem Solving (เทคนิคการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน)
Loading Events
วันที่อบรม
ระยะเวลาการเข้าอบรม 90 วัน

E-training
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- ตัวอย่าง

ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT) 3,500 บาท
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

ค่าธรรมเนียม (ระบุตามจำนวนผู้เข้าอบรม)

The numbers below include tickets for this event already in your cart. Clicking "Get Tickets" will allow you to edit any existing attendee information as well as change ticket quantities.
E-training
3,500.00 ฿

องค์กรกำลังเผชิญกับปัญหาเชิงระบบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่ง หรือหลายปัจจัย ส่งผลกระทบไปยังทุกปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน ทั้งโครงข่าย ซึ่งมีความซับซ้อนทั้งความสัมพันธ์ และการดำเนินงาน ในระบบ ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ และอุปกรณ์เครื่องใช้อัตโนมัติ ส่งผลให้สังคมเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คน นำไปสู่ความต้องการบริโภคทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น และการขยายปริมาณผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้สภาพแวดล้อมภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงไปจนยากจะคาดการณ์ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทุกพื้นที่ ส่งผลต่อเนื่องกลับมายังภาคธุรกิจ ที่ต้องปรับตัวทั้งเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แรงงาน ต้นทุน การจัดการด้านวัตถุดิบ รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม ดังนั้น องค์กรต้องทำความเข้าใจระบบ ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เพื่อลดความซับซ้อนของปัญหาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น และสามารถสร้างโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืนท่ามกลางความไม่แน่นอน

องค์กรจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องเรียนรู้การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน เพื่อให้สามารถสร้างโอกาสการเติบโตจากแรงกดดันที่มาจากการแข่งขัน และองค์กรผู้นำด้านการปฏิรูปโดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงานในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ยุค 4.0 ซึ่งมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเสริมสร้างทักษะและวิธีการในการวิเคราะห์ปัญหาซับซ้อน และ การแก้ไขปัญหาเชิงระบบ ทำให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาได้ครอบคลุมทั้งระบบ และเกิดประสิทธิผลตามเป้าหมาย
  • เพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน ในสถานการณ์ที่ซับซ้อน และสามารถวางแผนจัดการได้อย่างเหมาะสม และได้ประโยชน์สูงสุดตามที่ต้องการ
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์แนวทางการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น และแตกต่างจากเดิม ทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นระบบ จะไม่เกิดปัญหาซ้ำ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

วิทยากร: ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี วิทยากรที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมให้การฝึกอบรมด้านการสร้างผู้นำเชิงปฏิรูป การปฏิรูปทีมงาน การปรับปรุงผลการดำเนินงานของทีมงาน การวางแผนกลยุทธ์ คิดเชิงกลยุทธ์ การคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การบริหารโครงการ การพัฒนาและสร้างนวัตกรรมให้กับภาคผลิตและภาคบริการ

 

เกณฑ์ได้รับใบรับรองการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Training

  • ผลคะแนนน้อยกว่า 70% (ทำถูก 1-6 ข้อ) จะได้ใบรับรอง การฝึกอบรมด้วยระบบ e-Training
  • ผลคะแนนมากกว่า 70% ขึ้นไป (ทำถูก 7-10 ข้อ) จะได้ใบรับรอง การฝึกอบรมด้วยระบบ e-Training และผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตร

 

ระยะเวลาการเข้าอบรมด้วยระบบ e-Training

  • ผู้เข้าอบรมมีระยะเวลาการเข้าอบรม 90 วัน
  • Password ผู้เข้าอบรมสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านในระบบเองได้

 

ค่าธรรมเนียม 

ท่านละ (ก่อน VAT 7%)
3,500 บาท
ท่านละ (รวม VAT 7%)
3,745 บาท
เวลาเรียนโดยรวม 2 ชั่วโมง 41 นาที

 

หัวข้อบรรยาย

Mindset สำหรับนักแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

  • Introduction
  • Mindset
  • ประเมินสถานการณ์
  • ตัวอย่างสถานการณ์

การคิดเชิงระบบ System Thinking

  • System Definition
  • System Thinking Definition
  • System Thinking Process
  • Two Systems Thinking

Complex Problem Approach

  • Problem
  • Comples Problem Solving process
    • State the Problem
    • Define Structure
    • Design Solution
    • Prototype & Test (Confirmation)
    • ตัวอย่าง กรณียา
    • ตัวอย่าง กรณีพนักงานในองค์กรนำเสนอโครงการด้านนวัตกรรมและปรับปรุงการทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง

สรุป   

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 452 (ศิริชัย), 454 (นิรันดร์), 456 (เอราวรรณ), 458 (นันทนา)

E-mail : etraining@ftpi.or.th


วิทยากร

ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี

• วิทยากรอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม
• ให้การฝึกอบรมด้านการสร้างผู้นำเชิงปฏิรูป การปฏิรูปทีมงาน การปรับปรุงผลการดำเนินงานของทีมงาน การวางแผนกลยุทธ์ คิดเชิงกลยุทธ์ การคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การบริหารโครงการ การพัฒนาและสร้างนวัตกรรม ให้กับภาคผลิตและภาคบริการ